top of page
รูปภาพนักเขียนSuponchai Keeratikajohn

Marketing ที่ทำให้คนยุคใหม่เก็บเงินไม่อยู่

อัปเดตเมื่อ 22 เม.ย. 2566


จะโทษว่าเราใจบางกว่าคนยุคก่อนก็ไม่น่าใช่ แล้วเพราะอะไรคนยุคใหม่ถึงเก็บเงินยากกว่า มาดูองค์ประกอบและเหตุผลที่คนรุ่นใหม่ไม่มีทางเก็บเงินได้เหมือนคนรุ่นก่อนกันฮะ


มือถือ

เครื่องมือที่เราเสียเงินซื้อเพื่อให้เสียเงินมากขึ้นไปอีกโดยมือถือเป็น gateway หลักในการเข้าสู่ข้อมูลสินค้าและช่วยให้เราเข้าถึงได้ถี่และนานตลอดทั้งวัน ยิ่งเมื่อร้านค้า และข้อมูลสินค้าอยู่ที่เดียวกันกับจอที่เราใช้ไปมาหาสู่เพื่อน + ครอบครัว เราเลยประจัญหน้ากับการตลาด ตลอด 24 ชั่วโมง


ข้อมูล/เนื้อหาฟรี

ขึ้นต้นว่าฟรี คนส่วนใหญ่เลยกระโดดมาใช้อย่างรวดเร็ว จนเกิด Network effect ฆ่าสิ่งเดียวกันที่เก็บค่าใช้บริการจนแทบสิ้น แต่บอกเลยว่า โฆษณาบน platform ฟรีอย่าง Facebook Google TikTok นี่ทำให้เราเสียเงินมากกว่าจ่ายตังค์เล่นซะอีก ให้เราเล่นฟรีแลกกับเก็บข้อมูลความชอบเรา ไปเก็บค่าโฆษณาแพงๆ กับคนขายของ สังคมโดยรวมเลยเสียเปรียบจาก monitization model นี้ กลายเป็น platform รวยกว่าคนขายของตัวจริงซะงั้น


Personalized ads

โฆษณาแบบเจาะจงแต่ละกลุ่มความสนใจ ค่า Conversion rate ดีขึ้น เป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับนักการตลาด แต่เป็นเรื่องน่ากังวล สำหรับสุขภาพการเงินของคนในสังคม เพราะการซื้อที่ง่ายขึ้น และโฆษณาตรงกลุ่มที่โดนใจมากขึ้น ทำให้คนซื้อโดยไม่ตรวจเงินในกระเป๋า เป็น Impulsive purchase มากขึ้น ฝากภาระไว้กับบัตรเครดิตและผ่อน 0% และยิ่งหนักในสังคมที่ความรู้ทางการเงิน (Financial literacy) ต่ำอย่างไทยเรา


บรรยากาศใน Social media

คนส่วนใหญ่มองโซเชียลเป็นสื่อสาธารณะ เลยโพสแต่เรื่องดีๆ ซึ่งเรื่องดีที่อวดได้ไวและบ่อยที่สุด คือกินของดี ใช้ของหรู พอเห็นเพื่อนมีก็อยากซื้อมาใส่ตาม ทำตามบ้าง  สังเกตได้จากดารามักเปิดช่อง YouTube ด้วยการพาทัวร์บ้าน เพราะมันดูดยอดวิวได้ดีจริงๆ โดยคนดูไม่รู้ว่า ดารารายได้เท่าไหร่ แถมไม่เห็นด้านทุกข์ก่อนจะซื้อสิ่งนี้ได้ ยิ่งกระตุ้นให้เกิดการบริโภคมากขึ้นไปเรื่อยๆ


User psychology & UX

ศาสตร์นี้สมัยก่อนมักอยู่กับนักจิตวิทยา และต้องใช้ต้นทุนสูงในการทดลอง แต่พอยุคดิจิตอลเข้ามาก็สามารถทำได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงการทำ data-marketing ที่มาช่วยวัดผล และหาวิธีกระตุ้นคนให้ซื้อเร็วขึ้นอย่างก้าวกระโดด ผู้บริโภคที่ไม่เท่าทันความก้าวหน้าของการตลาดนี้ เลยโดนล่อลวงได้ง่ายมาก ในแง่นึงคือ การตลาดมีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ก็ทำให้ลัทธิบริโภคนิยมเพิ่มอย่างรุนแรง


Platform economy

ในยุคปัจจุบัน เมื่อใครรู้วิธีกระตุ้นผู้บริโภคดีๆ เราจะไม่ได้เก็บไว้ใช้แค่กับตัวเอง แต่ทำเป็น plug in ขายให้คนทั่วโลกเลย รวยกว่า platform economy เลยทำให้คนเอาเทคโนโลยี ข้างบนที่โหดๆ มา scale ได้เร็วยิ่งขึ้น สิ่งเหล่านี้เลยเกลื่อนไปหมด เราเลยถูกเร่งเร้าทุกทิศทาง shift graph การบริโภคให้ชันขึ้นแบบจัดๆ เลย


Credit card & E-Payment/Wallet

การจ่ายเงินสดทำให้เกิด pain มากกว่าการจ่ายที่มองไม่เห็น เราถูกทำให้รู้สึกว่า การหยิบจ่ายเงิน คือสิ่งที่ต้องยับยั้งชั่งใจ นักจิตวิทยาพบว่า เมื่อทำให้เขาไม่เห็นธนบัตร หรือเงินที่สูญเสีย จะทำให้เขาใช้เงินอย่างไม่รู้สึกผิดได้ง่ายขึ้น รวมถึงการไม่ต้องจ่ายทันทีทั้งก้อน แบบบัตรเครดิต หรือผ่อนชำระ ก็ช่วยลด pain ให้เล็กลง จนทำให้เราไม่ยับยั้งชั่งใจกลายเป็นรู้ตัวอีกที ก็ไม่มีเงินเก็บแล้ว


COD - Cash on delivery

ย้าย pain ไปในอนาคต ผลักภาระออกไป เหมือนบอกตัวเองว่ามีโอกาสในการยกเลิก ไม่ต้องจ่ายเงินจริง แต่พอสินค้ามาถึงหน้าบ้าน เราก็เกรงใจซื้อจริงอยู่ทุกที เพราะ COD จริงๆ มีอัตราปฏิเสธแค่ 20 - 30% เท่านั้น บางอย่างที่เราไม่ตั้งใจซื้อ พอมาถึงหน้าบ้าน เราก็เลือกที่จะซื้อมัน ทั้งเพราะความสะดวก และอายที่จะปฏิเสธ ความรู้สึกเหล่านี้นี่เอง ที่ทำให้เกิด success ของ COD


ดู 4 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page